top of page

" Ladies and gentlemen, children of all ages, step right up and guide your ears toward this blog as the circus music is about to begin! "

" CIRCUS CIRCLE "

            หลายคนมักเข้าใจผิดว่า “Circus” นี้มีอายุย้อนไปถึงตั้งแต่ยุคโรมัน แต่จริงๆแล้ว Circus  ในโรมันเป็นต้นแบบของลู่ที่ใช้วิ่งแข่งความเร็วในสมัยใหม่ ความสัมพันธ์ร่วมกันของ Roman และ Modern Circus คือคำว่า Circus ที่มีความหมายในภาษาละตินเท่ากับคำว่า Circle ในภาษาอังกฤษ

             

            Circus เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษโดย Philip Astley (1742 - 1814) เป็นการแสดงการขี่ม้าและการควบคุมม้า ในปี 1786 เขาได้เปิดโรงเรียนสอนขี่ม้าขึ้น และทำการแสดงขี่ม้า การควบคุมม้า เขาจะคิดการแสดงในช่วงเช้าและทำการแสดงในช่วงบ่าย ในขณะนั้นประเทศอังกฤษเองกำลังมีวิวัฒนาการในการพัฒนาภาพยนตร์ เขาจึงได้รับแรงบรรดาลใจในการออกแบบสร้างพื้นที่การแสดงของเขาขึ้นมาเป็นรูปวงกลม เพื่อให้ผู้ชมสามารถเห็นการแสดงขี่ม้าของเขาได้ในทุกมุม เขาเรียกวงแหวนที่เขาสร้างนี้ขึ้นว่า Circle หรือ Circus ซึ่งคำว่า Circus เป็นคำในภาษาละตินที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า Circle ในภาษาอังกฤษ ต่อมาก็รู้จักกันในชื่อ Circus ring หรือวงแหวน สำหรับวงแหวนนี้เขาไม่ได้เป็นผู้คิดค้นคนแรก แต่มันถูกคิดค้นมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว ผู้แสดงจะต้องขี่ม้าเป็นวงกลมและควบคุมการทรงตัวในการแสดง วงแหวนของ Astley นั้นจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 62 แต่โดยทั่วไปจะมีความยาวศูนย์กลาง 42 ก้าว และได้กลายมาเป็นมาตรฐานในการสร้าง ต่อมาในปี 1770 เขาประสบความสำเร็จอย่างมากในการแสดง เขาจึงได้คิดการแสดงที่แปลกใหม่นอกเหนือจากการแสดงการขี่ม้า เขาจึงได้เปิดรับนักกายกรรม นักกระโดดเชือก และผู้ที่สามารถโยนสิ่งของหลายชิ้นพร้อมกันได้ เข้ามาคั่นระหว่างพักการแสดงขี่ม้าของเขา และเริ่มไปทำการแสดงที่ฝรั่งเศสครั้งแรกในปี 1782 และในปีนี้เองเขาก็มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น Charles Hughes นักขี่ม้าชาวอังกฤษ และ Chales Dibdin นักประพันธ์บทละครใบ้ ความสำเร็จของทั้งสองเริ่มด้วยการแสดงและเปิดโรงเรียนสอนขี่ม้า รวมไปถึง The Royal Circus และ Equestrian Philharmonic Academy และก้าวเล็กๆที่ยิ่งใหญ่นี้ คำว่า “Circus” จึงถูกนำไปใช้ในชื่อการแสดงที่ให้ความบันเทิง ในปี 1793 Hughes ได้ไปแสดงที่รัสเซีย และลูกศิษย์ของเขาก็ได้ไปแสดงที่อเมริกา ในการแสดงแต่ละครั้งจะต้องสร้างวงแหวนขึ้นมา  ในอดีตจะทำด้วยไม้แต่เมื่อได้ไปทำการแสดงที่ยุโรปความก้าวหน้าทางสถาปัตยกรรมจึงมีการพัฒนาวงแหวนให้มีความหรูหรามากยิ่งขึ้น อาคารเหล่านี้ถูกก่อสร้างในเมืองใหญ่ๆ เช่น New York, Mexico, Philadeiphia อาคารเหล่านี้ยังเป็นตัวเลือกในยุโรปจนถึงศตวรรษที่  20 แต่ไม่ใช่กับในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 มีบางพื้นที่เท่านั้นที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถสร้าง Circus ได้ การแสดงจึงค่อนข้างที่จะจำกัด ดังนั้นในปี 1825 Joshuah Purdy Brown นักลงทุนคนแรกจึงเข้ามาเปลี่ยนวงแหวนที่สร้างจากไม้ ให้กลายเป็นเต้นท์ผ้าแคนวาส เขามาจาก Somers ใน New york และรู้จักคนขายสัตว์จึงได้ซื้อลูกช้างแอฟริกามาเพื่อร่วมในการแสดงด้วย ต่อมาก้ได้ซื้อพันธุ์สัตว๋ต่างๆ มาร่วมด้วย การแสดงของอเมริกาในการนี้มีเอกลักษณ์ี่ต่างออกไปจากการแสดงในยุโรป คือมีนักลงทุนเป็นผู้จัดหางาน และไปแสดงตามที่ต่างๆ โดยการใช้เต้นท์ผ้าเป็นที่จัดการแสดง แต่ในยุโรปจะทำกันแบบครอบครัวมากกว่า

 

             การแสดง Circus สิ่งที่สำคัญคือภาพที่ผู้แสดงสื่อออกมา ดังนั้นมันจึงถูกทำลายกำแพงทางภาษาลง เพราะเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะไปแสดงในประเทศอื่นๆ โดยผ่านเจ้าของภาษาที่พูดคนละภาษากับผู้แสดง จึงทำให้การแสดง Circus ขยายไปได้เร็วในระดับนานาชาติ ในปี 1836 Thomas Cooke นักแสดงขี่ม้าชาวอังกฤษได้ซื้อเต้นท์ที่ใช้ในการแสดงจากที่อเมริกากลับมา จากจุดนี้ทำให้ชาวยุโรปเห็นว่าการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อการแสดงอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป Giuseppe Chiarini(1823-1897) นักขี่ม้าชาวอิตาลีจึงได้ออกเดินทางไปที่ที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อนที่ Havana อเมริกาใต้ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่น เม็กซิโก บราซิล ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี จีน ทัสมาเนีย สิงคโปร์ ชวา ไทย อินเดีย และเสียชีวิตลงที่กัวเตมาลา

            ในช่วงสงคราวโลกครั้งที่ 1 การแสดง Circus โดยการขี่ม้านั้นเหลือเป็นเพียงภาพความทรงจำ เนื่องด้วยรถไฟหรือรถยนต์ที่เข้ามาแทนที่การขี่ม้า สิ่งที่ม้าแทนที่การแสดงการขี่ม้าคือ กายกรรมกลางอากาศ และตัวตลกที่มีความสำคัญก่อนหน้านี้ก็ยังมีความสำคัญในยุคนี้อยู่เช่นกัน ในโรงเรียนที่สอนการแสดง Circus ก็ได้มีการแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับยิมนาสติกเข้าไปด้วย

RELATIONSHIP BETWEEN MUSIC & CIRCUS

CIRCUS MUSIC หรือที่เราจะรู้จักกันในชื่อ Carnival Music ที่เป็นการแสดงที่เล่นควบคู่ไปกับการแสดง Circus ดนตรีสมัยนิยมจะถูกนำมา Arrange ให้เข้ากับ Circus band เช่น waltzesfoxtrots และการแสดงอื่นๆ ถึงแม้ว่าการแสดงนี้จะมีอยู่ตั้งแต่ในสมัย Ancient Roman แต่ดนตรีของ Circus music เริ่มต้นจากการแสดงโดยเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน หรือ Flute 

ดนตรีในศตวรรษที่ 20 มีความแตกต่างออกไปบทเพลงดังกล่าวจะถูกเล่นในวง Big Band  การแสดง Modern circus ครั้งแรกโดย Philip Astley (1748 - 1814) ที่เป็นการแสดงบนหลังม้า และมีการแสดงกายกรรมอื่นๆเข้ามาแทรก โดยทำการแสดงครั้งแรกในปี 1782 ที่ Paris นักประพันธ์ Circus Music ทีเรารู้จักกันเป็นคนแรกคือ Charles Dibbin (1745 - 1814) ซึ่งเป็นคู่หูของ Astley นั่นเอง Dibbin เป็นคนที่มีชื่อเสียงมากในช่วงเวลานั้นที่เขียนผลงานขึ้นกว่าร้อยชิ้น และภายหลังได้ตัดสินใจเขียนบทเพลงให้กับการแสดง Circus โดยบทเพลงนั้นจะมีลักษณะเป็น Intermezzo ให้เหมาะกับการแสดงที่สลับฉากไปมา หรือเขียนเป็น Comedy pieces ผลงานที่ประพันธ์ให้กับนักแสดงกว่า 60 ชีวิตทั้งนักร้อง นักแสดง นักเต้น ที่มีชื่อเสียง เช่น The Graces, Clum and Cudden และ Pandora ผลงานของบทประพันธ์เหล่านี้ที่มีชื่อเสียงและใช้ในการแสดง Circus เป็นเพราะว่าตามแบบฉบับดั้งเดิมบทเพลงเหล่านี้ถูกใช้ใน Popular Puppet Show ทำให้กลายเป็นภาพที่จดจำกันมา

ลักษณะการประพันธ์ดนตรี Circus Music จะมีความเป็น March หรือ Sreamer มีจังหวะที่รวดเร็วประมาณ 200/นาที ทำนองหลักจะมีลักษณะของโน้ตที่กระโดดสลับไปมาอย่างรวดเร็ว เป็น Fanfare ซึ่งมีความท้าทายสำหรับผูเล่น "Windjammers" (circus musicians) เพราะจังหวะที่รวดเร็วนั่นเอง 

 

เครื่องดนตรีที่ใช้ ในช่วงศตวรรษที่ 19 จะมีการเริ่มด้วยวงเครื่อง Brass สำหรับเครื่องสายนั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้มากเท่าไหร่นักตามแบบฉบับดั้งเดิมของ Circus Music ซึ่งความดั้งเดิมนี้ถูกกำหนดขึ้นโดย Marle Evans ซึ่งเป็นนักCornet และผู้ควบคุมวง Circus Band ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักกันในนาม "Toscanini of the Big top) ใน American Bandmaster Association ในปี 1997 สาเหตุที่เครื่องบราสนั้นได้รับความนิยมมากกว่า เป็นเพราะว่าโทนเสียงที่มีความก้องกังวาลมากกว่าเครื่องดนตรีประเภทอื่น 

เสียงของเครื่องดนตรี Cornet, Trumpet, Trombone, French Horn, Baritone และ Tuba สามารถส่งเสียงไปได้ไกลและเป็นวงกว้าง ทำให้เมื่อได้ยินเสียงก็เป็นสัญลักษณ์คล้ายกับการแสดง Circus จะเริ่มขึ้นแล้ว และก็ได้เพิ่มเครื่ืองดนตรีประเภทกลองเข้าไป สำหรับเครื่องดนตรี Saxophone ก็นำมาใช้ในการบรรเลงอยู่เนืองๆ สำหรับเครื่องดนตรี Calliope สร้างโดย Joshua C. Stoddard ในปี 1856 ในบ่อยครั้งก็ถูกใช้ใน Circus แต่ไม่ได้อยู่ในวง Circus Band ในบางครั้งก็ถูกเรียกว่า "Circus Piano" และเล่นคล้ายๆกับ Piano เสียงของเครื่องดนตรีนี้สามารถไปไกลได้ถึง 9 ไมล์  

Collage

รูปภาพและบทเพลงที่มีความหมายในตัวเอง เมื่อเรานำมารวมกันและจัดวางให้เหมาะสม มันสามารถเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวใหม่ และสื่อความหมายที่เปลี่ยนไปจากนัยเดิม บทเพลงและการแสดงในคอนเสิร์ตครั้งนี้ก็เช่นกัน ที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวใหม่ที่มีความหมายของตัวเองซ่อนอยู่ในคอนเสิร์ต "Circus Circle"

Shadow Puppet

 การแสดง Circus ตามความเข้าใจโดยปกติคือการแสดงของคณะละครสัตว์ ที่จะมีการเล่นกายกรรรม การแสดงของตัวตลก และมีดนตรีเป็นองค์ประกอบ แต่ในความหมายของ Circus แล้วนั้นก็สามารถใช้เรียกการแสดง ที่ให้ความสนุกความบันเทิงได้ ในการแสดงครั้งนี้เป็นการแสดง Solo Clarinet ประกอบกับภาพ Visual Art ที่สร้างสรรค์ขึ้นที่ได้รับแรงบรรดาลใจมาจากธีม Circus โดยการเลียนแบบการแสดงที่มีอยู่ในนั้น ถอดแบบออกมาโดยใช้เป็นเพียงหุ่นเงา หรือการใช้มือในการทำเป็นรูปตัวละคร สัตว์ต่างๆ ตามลักษณะของบทเพลง

Zoetrope

การทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวในยุคเก่าเริ่มต้นจากการนำภาพนิ่งมาเรียงต่อกัน โดยใช้เครื่อง Zoetrope เพื่อให้สามารถหมุนตามความเร็วที่ต้องการและให้ภาพ หมุนเร็วจนสายตาของเรานั้นมองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว การแสดง Circus เริ่มแรกคือการเล่นกายกรรมบนหลังม้า แต่เมื่อวิวัฒนาการความก้าวหน้าทางด้านรถไฟ หรือรถยนต์ที่เข้ามาแทนที่ การขี่ม้าเพื่อเดินทางก็ได้ถูกเปลี่ยนไปตามบริบทสังคม และถูกตัดออกจากการแสดง Circus เหลือเพียงละครสัตว์ โชว์นักมายากล กายกรรมต่างๆ จึงอยากจะย้อนหวนให้นึกถึงภาพของการแสดงขี่ม้าที่เป็นส่วนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกของการแสดง Circus 

History of Collage

"Collage is the twentieth century's greatest innovation." — Robert Motherwell

collage-art-history-1.jpg

Georges Braque, ‘Violin and Pipe’ (1913)

collage-art-history-3.jpg

Francis Picabia, ‘Tableau Rastadada’ (1920)

"After Picasso and Georges Braque, collage became the most consequential visual-art form of the twentieth century."

— Peter Schjeldahl

ในขณะที่ศิลปินกำลังแบ่งชั้นของรูปภาพ และความมีอิสระในการเลือกสร้างสรรค์อุปกรณ์ต่างๆใส่ลงในกระดาษผลงานของเขาเอง Collage เป็นสิ่งที่รวมความเป็นกลางและความถูกต้องในตัวของมันเองตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 20  ด้วยการทดลอง Cubits ของ Pablo Picasso และ Georges Braque สงอคู่หูที่สร้างคำว่า “Collage” ขึ้นมา ซึ่งมาจากคำในภาษาฝรั่งเศษ “Coller” (ที่หมายความถึง การติดด้วยกาว หรือ การแทง) ผลงานเหล่านี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจากกระดาษสี กระดาษหนังสือพิมพ์ และผ้า เมื่อลองพิจารณาถึงช่วงเวลา ณ ขณะนั้นเป็นความกล้าหาญมากที่นำวัฒนธรรมระดับล่างและระดับบนเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติของวงการ  Modern Art

 

อย่างไรก็ตามศิลปินในช่วงยุคก่อนหน้าที่รู้จักในชื่อ “Analytic Cubism” ที่รวมภาพวาดของโลกที่แยกออกเป็นชิ้นที่มีความเป็นเส้นตรง และส่วนที่มีความโค้งเว้า หลังจากยุคของ Synthetic Cubism ก็มีความเชื่อโยงของชิ้นส่วนที่แยกกัน หรือัสดุที่หลากหลายมาสร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นใหม่ เช่น ผลงานที่มีชื่อเสียงของ Picasso “Still Life With Chair Caning (1912)” ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในช่วงเวลานั้น เป็นภาพที่รวมวัสดุที่พบในทุกวัน อย่างหนังสือพิมพ์ และเชือก เช่นผลงาย trompe-l’oeil ที่สร้างสรรค์บนผ้าน้ำมันและมีรูปแบบคล้ายกับ chair-caning

 

จาก Cubist experiments ทำให้เกิดสมาคมศิลปินขึ้นโดย Dada  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคณะของ Berlin branch ที่เริ่มนำ   Collage มารวมไว้ในผลงานของเขา Hannah Hoch, Richard Huelsenbeck, John Heartfield และผู้บุกเบิกในช่วงยุคแรกที่ได้ใช้เทคนิค photomontage ใช้ภาพที่มีอยู่แล้ว บรรจงวาดลงไปเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเฉียบขาดเป็นที่วิพากย์วิจารณ์ในสังคมเยอรมัน และในวัฒนธรรมช่วงหลีงสงครามโลกครั้งที่ 1 

 

ศิลปินร่วมสมัยได้ใช้ Collage ในระดับปานกลางบนผลงานชิ้นใหม่หรือหนทางแห่งนวัตกรรมใหม่ๆ โดยการทดลองอย่างเป็นกิจลักษณะ และกรอบความคิด อย่างเช่นศิลปิน Lorna Simpson และ Nina Yuen ที่เคยใช้เทคนิค Collage  ที่สื่อความหมาย นัยแฝงกับชื่อเรื่องอย่าง การแข่งขัน ชนชั้น และกฎหมาย ในขณะที่หาความผสมผสานร่วมกันกับสิ่งที่เป็นเรื่องราวในอดีตและความเป็นอนาคต เลือกสรรภาพจากอินเทอร์เน็ตและภาพที่เจอที่ถูกใจ

collage-art-history-2.jpg

Picasso, ‘Bottle of Vieux Marc, Glass, Guitar and Newspaper’ (1913)

Art of Shadow Puppetry

ในอดีต Plato เคยกล่าวถึงถ้ำในอินเดียที่มีการจารึกศตวรรษที่ 2 มีการจารึกอ้าวอิงถึงการแสดงละครเงาที่ใช้หุ่นกระบอกรูปคนและสัตว์ ที่จัดการโดยคนเชิดหุ่นในถ้ำนั้น เบื้องหลังของการแสดงหุ่นเงาและตามบันทึกของ Plato เราจะเห็นรูปแบบและความเป็นจริงที่ถูกตีตรวนโดยผู้ชม เรื่องนี้ Plato คิดว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นปลอมในทางความคิด อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ถือได้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับการแสดงหุ่นเงาในถ้ำ สำหรับการแสดงพิธีกรรมทางศาสนาและการเฉลิมฉลอง 

 

ศิลปะการเชิดหุ่นกระบอก หรือการแสดงเงา ในอดีตเป็นการเล่าเรื่องที่เป็นนิทานมีการใช้รูปภาพที่เป็นแนวราบ (Shadow puppet) มาสร้างและตัดรูปภาพนั้นเพื่อให้มีช่องว่างให้แสงผ่าน และพื้นหลังส่วนที่ให้แสงผ่านได้น้อย เรื่องนี้มีประวัติที่ยาวนานทั้งในจีน อินเดีย เนปาล และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือในฝั่งตุรกี และกรีซ ที่หาทางรอดและมีชีวิตอยู่ในช่วงหลังสงครามและการปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งดูเหมือนว่ามันจะมีประวัติของมันเองและคำจารึกของการแสดงในครั้งแรก หรืออย่างน้อยก็มีรูปแบบที่มันแตกต่างกันตามวัฒนธรรมนั่นเอง

 

Opera in Mini Size

หุ่นกระบอกที่เคลื่อนไหวไปพร้อมกับเสียงดนตรีเหมือนกับที่นักแสดงโอเปราทำ ผู้ที่เป็นคนเชิดหุ่นกระบอกคนที่บางครั้งก็ต้องร้องและอ่านเนื้อเรื่องไปด้วย และนั่งอยู่ข้างหลังฉาก เครื่องดนตรีในวง Orchesta ถูกบันทึกไว้หลายชนิดตามศาสนาและขนบธรรมเนียม โรงละครสำหรับการแสดงจะเป็นการแสดงในงานวัดหรือตลาด เพื่อเป็นสิ่งที่สร้างความบันเทิงให้กับผู้หญิงชนชั้นสูงซึ่งไม่มีอิสระในการเข้าถึงการแสดงอุปรากร เวทีขนาดเล็กสำหรับการแสดงหุ่นเงาจะทำให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวเช่นกัน เนื้อเรื่องของการแสดงหุ่นเงาจะมากหรือน้อยคล้ายกับเนื้อเรื่องของอุปรากร บ่อยครั้งที่จะยึดตามนิทานที่เป็นมหากาพย์เกี่ยวกับนักรบในสงคราม สงครามที่มีชื่อเสียง โศกนาฏกรรม ความรัก ฯลฯ ผู้กำกับหุ่นเงามักจะใช้เรื่องที่มีเป็นประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และภาพยนตร์ ดังนั้นเขาจึงสามารถที่จะสร้างตัวละครที่เล่นได้ภายในคณะของเขา

 

ในช่วงความคลั่งไคล้ของจีนหรือที่เรียกว่า  “Chinoiserie”   ช่วงยุค Rococo โรงละครหุ่นเงาของจีนซึ่งก็กลายเป็นที่รู้จักในยุโรป ในจีนช่วงระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรรม โรงละครหุ่นเงาเคยจารึกในการปฏิวัติการแสดงเช่นกัน ในช่วงหลังศตวรรษที่ 20  โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ทำให้ละครหุ่นเงาได้รับความนิยมลดลงไปเช่นกัน และกลายเป็นการแสดงที่หาชมได้ยาก หลายกลุ่มพยายามที่จะทำการแสดงหุ่นเงาในสมัยใหม่ โดยสร้างจากเรื่องตลกที่เป็นชื่นชอบของเด็กๆ หรืออนิเมชั่น

 

ปัจจุบันนี้ยังคงมีวัฒนธรรมการเชิดหุ่นกระบอกที่หลากหลาย ตามที่มีการบันทึกไว้สามารแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 

 

  1. Marionettes ที่มีการเชิดจากด้านบนโดยใชเชือก

  2. Rod puppets  ที่มีการเชิดโดยใช้ไม้แท่งยาวๆจากด้านล่าง

  3. Glove or finger puppets ที่สร้างสรรค์โดยการใช้มือ หรือนิ้วมือ

32_bird.jpg

ZOETROPE

muybridgehorseinmotion1-2.jpg

Zoetrope ที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นลักษณะหลักของภาพยนตร์เรื่อง The Woman In Black" ที่โด่งดังของ Daniel Radcliffe ที่ได้นำ Zoetrope เข้าไปใช้ในการแสดง

 

อุปกรณ์ที่สร้างด้วยชื่อ Doedaleum ในปี 1833 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ William George Horner (1786-1837) 

นักฟิสิกส์ชาวสก็อต ames Clerk Maxwell พัฒนามันขึ้นจากรูปแบบเดิมในปี 1868 โดยการเพิ่มส่วนเว้าเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ 

ถึงแม้ว่ามันจะถูกคิดค้นโดย William F. Lincoln ในปี 1867 แต่ชื่อของ Zoetrope เกิดขึ้นในปี 1887 ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ

 

นี่ถือเป็นงานศิลปะสมัยใหม่ที่จำลอง Zoetrope แบบดั้งเดิม มันถือเป็นอุปกรณ์ที่ผลิตภาพที่บันทึกไว้ที่ละภาพอย่างรวดเร็วให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหว

ลักษณะภายในมีรูปทรงเป็นทรงกระบอก และเรียงภาพตามลำดับเหตุการณ์ไป เมื่อหมุนวัตถุทรงกระบอกผู้ใช้จะต้องมองผ่านช่องที่กรีดเป็นรอยในฝั่งตรงข้าม และรูปภาพจะกลายเป็นรูปเดียวกัน ทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหว

 

เพียงแค่ใส่ภาพเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันเป็นแผ่นยาวๆ เคาะเป็นจังหวะช้าๆมองผ่านช่องว่าง รูปภาพเหล่านั้นก็จะดูเหมือนมีชีวิตชีวาขึ้นมา เข่นนกอินทรีย์กระพรือปลีกไปมา กบกระโดด และรูปอื่นๆ

bottom of page