top of page

PROGRAME

142313-004-99599418.jpg

Clarinet Concerto No.1 in F minor, op.73

Carl Maria von Weber (1786-1826)

บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นโดย Carl Maria von Weber ในปี 1811 ซึ่งเป็นปีที่เขาได้พบกับ Heinrich Baermann(1810-1855) นัก Clarinet ผู้มีฉายานามว่าเป็น “Rubini of the Clarinet” เพราะมีความสามารถอย่างมาก เสียงคลาริเนทที่มีชีวิชีวาแบบฝรั่งเศสผสมผสานกับความสุขุมนุ่มลึกในแบบเยอรมัน และได้รับคำชมขาก Composer ท่านอื่นๆอย่าง Berlioz, Wagner และ Mahler ทั้งสองได้กลายมาเป็นเพื่อนกัน ซึ่ง บทประพันธ์ Clarinnet Concerto No.1 in F minor นี้ Weber ได้ประพันธ์ให้กับ Heinrich Baermann โดยใช้เวลาในการประพันธ์เพียงหนึ่งวัน โและได้เปิดโอกาสให้ Bearmann สามารถที่จะสร้างสรรค์ท่อน Cadenza ได้ด้วยตนเองเพิ่มเติมจากที่ weber เขียนไว้ให้ บทเพลงนี้ แสดงให้เห็นว่า Weber มีความเข้าใจในธรรมชาติของเครื่องดนตรี Clarinet นอกจากนั้นเครื่องดนตรี Horn โดยมีความเข้าใจในธรรมชาติเสียงของเครื่องดนตรี ในท่อนที่ 1 นี้ เขาได้เริ่มจากเสียงของ Cello และตามด้วยเสียงของวงออร์เครสตราทั้งวง และเบาลงอีกครั้งเพื่อเข้าสู่ท่อน Solo Clarinet ในท่อนที่ 1 นี้เริ่มต้นด้วยจังหวะ Allegro ในบันไดเสียง F minor เปลี่ยนไปยัง Ab Major ก่อนจะกลับเข้ามาสู่ F minor อีกครั้งหนึ่ง ในจังหวะ 3/4 มีลักษณะเหมือนกับ Opera โดยท่อนนี้ถือได้ว่ามีความทันสมัยมากในสมัยนั้น ที่มีลักษณะการประพันธ์คล้ายกับ Felix Mendelssohn และส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกับ Piano Concerto No.5 ของ Beethoven สำหรับท่อน Cadenza ที่ Bearman แต่งเติมขึ้นนั้น ในปี 1868-69 ลูกชายของ Heinrich ชื่อ Carl ได้นำไปตีพิมพ์เผยแพร่โดยถอดแบบมาจากโน้ตพ่อของเขา แต่ในปัจจุบันนี้ก็มีการตีพิมพ์ทั้งที่ Weber เป็นผู้แต่ง และในแบบฉบับของ Heinrich

 

ในท่อนที่ 2 นี้เริ่มต้นด้วย Adagio ma non troppo บทประพันธ์นี้มีท่วงทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ของ Opera ในยุคก่อนโรแมนติก แต่ยังคงความรู้สึกคล้ายกับท่อนที่ 2 ของ Mozart Clarinet Concerto ทั้งในเรื่องของอารมณ์เพลง และลวดลายการประพันธ์  Weber นั้นเป็นที่รู้จักอย่างยิ่งในแวดวงของอุปรากร ในการประพันธ์ Der Freischutz  โรแมนติกโอเปรา ที่ได้พัฒนามาจากโรแมนติกโอเปราในแบบดั้งเดิม ผสมผสานความเป็นชาตินิยมในแบบเยอรมันที่ได้อิทธิพลมาจาก Richard Wagner บทประพันธ์นี้ในช่วงกลางของบทเพลงมีความพิเศษคือ Weber ได้ประพันธ์ให้มี horn trio บรรเลงขึ้น โดยปราศจากออร์เครสตรา ซึ่ง Horn ก็เปรียบเสมือนกับนักร้องในโอเปรานั้นเอง

 

ในท่อนที่ 3 Rondo; Allegretto ในบันได้เสียง F major ในท่อนนี้ให้ความรู้สึกเหมือนการวิ่งเล่นอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะที่แตกต่างจากท่อนที่ผ่านมาด้วยลักษณะที่มีความสว่างสดใส สีสันที่หลากหลายในจังหวะ 2/4 โน้ตที่เล่นจะเร็วราวกับเล่นเป็น Staccato ถ้าหากจะเปรียบเทียบว่า Weber ประพันธ์ท่อนนี้ให้กับ Clarinet Concerto คงเทียบได้กับ Mozart ที่กำลังแต่ง Clarinet Quintet และมีความเป็นไปได้ที่เราจะได้ยินความแตกต่างระหว่างคลาสสิก กับสไตล์ในก่อนยุคโรแมนติก

250px-Iwan_Müller.jpg

Six clarinet Trio

Jacques Jules BOUFIL

Clarinet trio โดยปกติแล้วจะประพันธ์ให้สำหรับ Cello, Clarinet และ Piano และเริ่มเป็นที่นิยมมากในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยผลงานชิ้นสำคัญที่ได้ประพันธ์ขึ้นโดย Beethoven และ Eberl ในบางครั้งก็จะประพันธ์ให้กับ Clarinet, Violin และ Piano โดยบทเพลงที่เล่นรวมวงกันนี้ถูกประพันธ์ขึ้นมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20 ผลงานชิ้นสำคัญถูกประพันธ์ขึ้นตั้งแต่ในปี 1970 และการบรรเลงรวมวงที่ใช้เครื่องดนตรี Clarinet ทั้ง 3 เครื่อง โดยใช้ Soprano Clarinet in B flat แต่ในบางครั้งก็มีการประพันธ์โดยใช้ Clarinet ที่มีช่วงเสียงที่แตกต่างกัน Clarinet Trio ในประเภทนี้ถูกเขียนขึ้นในช่วงหลังศตวรรษที่ 18 ตัวอย่างก่อนหน้านี้เช่น Mozart ผู้ได้ประพันธ์โดยใช้ Basset horn trio และ ผู้ที่ประพันธ์โดยใช้ Soprano Clarinet นั้นก็คือ Bouffil และ Waterson บทเพลง Clarinet trio จำนวนมากถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อให้ความเพลิดเพลินมากกว่าการแสดงคอนเสิร์ต


Jacques Jules BOUFFIL บุคคลที่มีความสำคัญในช่วงศตวรรษที่ 19 ทั้งในฐานะนักประพันธ์และนักคลาริเนท ในวง Paris Opéra-Comique orchestra วง Reicha Wind Quintet และสมาชิกวง Napoleon’s private orchestra ที่ได้ฉายานามว่าเป็น Clarinet Virtuoso ในช่วงเวลานั้น และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ในการแข่งขัน Solo Clarinet ทั้ง Clarinet in Bb และ Clarinet in C ผลงงานการประพันธ์ Six Trio ของเขาที่ใช้เครื่องดนตรี Clarinet in Bb ในการบรรเลงทั้งหมดนั้น ได้ถูกถ่ายทอดลงในบทประพันธ์ที่เขาแต่งขึ้นเป็นเรื่องราวระหว่างเขาและ Clarinet การที่เราจะสามารถเล่นดนตรีได้ดีนั้น เราต้องมีความเข้าใจในคู่หูของเรานั้นคือเครื่องดนตรีที่เราเล่น ที่เรามองว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและจิตใจของเรา ถ้าหากเปรียบเทียบเพลงนี้เป็นดั่งบทสนทนาระหว่างตัวเขาและ Clarinet บทเพลงนี้คงเปรียบได้กับความรักความผูกพันของฉันเองที่มีต่อเสียงดนตรี และเครื่องดนตรีคู่ใจของฉัน หากแต่การเล่นบรรเลงรวมวงนั้น ต้องอาศัยความเชื่อใจ ความคุ้นเคยกับเพื่อนๆที่เล่นร่วมกัน เพลงนี้ Bouffil ได้ประพันธ์ไว้ในระดับปานกลาง นั่นหมายความว่าอาจจะเป็นไปด้ทั้งยากและง่ายโดยขึ้นอยู่กับตัวผู้บรรเลง แต่ถ้าหากเรามีความเข้าใจ ความเชื่อใจกันมากเพียงพอ บทเพลงนี้จะเป็นข้อความจากฉันและเพื่อนๆ Clarinet ที่ส่งผ่านถึงทุกคน..

s752191608332232664_p30_i1_w1275.jpeg

Fantaisie de concert for Clarinet and piano

Avon,Edmond Joseph

Edmond Evon (18 - 1919)นักคลาริเนทชาวฝรั่งเศส รวมถึงหัวหน้าวง และเคยเป็นอาจารย์อยู่ที่ Conservatoire de Paris ในปี 1903 หลังจากนั้นเขาได้ย้ายไปที่ College of Saint-Marcellin ในช่วงปี 1903-1910 และหัวหน้าวง Lyre Saint-Marcellinoise ปี 1906 ใน Roybon ที่เป็นอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำของ Henri Saint- Rome 

บทเพลง Fantaisie de concert pour Clarinette en Sib avec accompgnement de piano ที่เล่นในครั้งนี้ถูกบันทึกการตีพิมพ์ในช่วงปี 1957และได้มีข็อความเขียนถึงเพื่อนชื่อ J.Roure อาจารย์ที่ Conservatiore de Musique de Perpignan บทเพลงนี้ประพันธ์ขึ้นในบันไดเสียง G Minor ที่เริ่่มต้นด้วยจังหวะ Maestoso บรรเลงโดย Piano ตามด้วย Clarinet เพลงนี้จะมี Theme หลักที่พัฒนาไปสู่ Variation ต่างๆ สิ่งที่น่าสนใจสำหรับบทเพลงนี้คือการเล่น Pharse ยาวประมาณ 8 - 12 ห้องและตามด้วย Rall ในช่วงท้ายของประโยค และเริ่มต้นด้วยทำนองเดิมในประโยคต่อไป เมื่อเข้าสู่ Theme หลักยงคงพบกับรูปแบบของการเล่นสลับกับ Rall สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกคือ Cadenza ในบันไดเสียง G minor ก่อนจะกลับเข้าสู่ Tempo I อีกครั้ง และเข้าสู่การพัฒนาทำนองหลักในช่วง Variation ในจังหวะเขบ็ตสองชั้น ตามด้วย Cadenza อีกครั้ง และวนกลับเข้าสู่ Tempo I เพื่อย้ำทำนองเดิมอีกครั้ง

ในจังหวะ Largo ทำนองหลักเดิมยังคงถูกนำมาพัฒนาต่อเนื่องในจังหวะที่ช้าลงเป็น Scale Arpeggio จบลงด้วย Cadenza  ตามด้วย Tempo I เพื่อย้ำทำนองเดิมและพัฒนาไปสู่จังหวะ Moderato สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือการเพิ่ม Gracenote และพัฒนาไปสู่จังหวะ  Allegro ที่เล่นสลับไปมาระหว่างจังหวะเขบ็ตสองชั้น และสามพยางค์เขบ็ตสองชั้น ทำให้เกิดสีสันของบทเพลงขึ้นมาใหม่ และจบลงด้วย Scale Arpeggio 

bottom of page